กินน้ำใต้ศอก

ความหมาย สำนวนนี้หมายถึง จำยอมตกเป็นรอง ไม่สามารถเทียบเทียมได้เท่า เช่นหญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย ก็เรียกว่า “กินน้ำใต้ศอกเขา” ที่มาของสำนวน คนในสมัยก่อนอธิบายว่า คนหนึ่งเอาสองมือรองน้ำมากิน มากิน อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : ไก่รองบ่อน.

กบในกะลาครอบ

ความหมาย ผู้ที่มีความรู้เพียงน้อยนิด ในมุมมองที่คับแคบของตัวเองแต่กลับอวดเบ่งว่าตัวเองนั่นรู้เรื่องทุกอย่าง ปิดกั้นสิ่งใหม่ๆที่เป็นความรู้รู้แค่ว่าสิ่งที่ตัวเองรู้นั้นคือที่สุดของที่สุดแต่หารู้ไม่ว่ายังมีเรื่องอีกมากมายที่ตนเองยังไม่รู้.

มาตราตัวสะกด

มาตรา คือ แม่บทแจกลูกอักษรตามหมวดคำที่มีตัวสะกดหรือออกเสียงอย่างเดียวกัน แบ่งออกเป็น 8 มาตรา หรือ 8 แม่.

เกมฝึกสะกดคำ

เกมฝึกสะกดคำคำที่มีตัวสะกดหรือออกเสียงอย่างเดียวกัน 8 มาตรา

เกมเศรษฐีคำราชาศัพท์

เป็นเกมฝึกทักษะ คำราชาศัพท์มีมีความจำง่ายยิ่งขึ้น.

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง คำราชาศัพท์

0 ความคิดเห็น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง คำราชาศัพท์

คําราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์
แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้
1.             พระมหากษัตริย์ 
2.             พระบรมวงศานุวงศ์ 
3.             พระภิกษุ 
4.             ขุนนางข้าราชการ 
5.             สุภาพชน

ที่มาของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ
1.             รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส  เป็นต้น
2.             การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น





คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เสื้อ

รองท้า

ของเสวย

ที่นอน

ม่าน, มุ้ง

ถาดน้ำชา

คนโทน้ำ

ผ้าอาบน้ำ

ปืน

เข็มขัด


ประตู

เตียงนอน

ผ้าเช็ดตัว
ฉลองพระองค์

ฉลองพระบาท

เครื่อง

พระยี่ภู่

พระวิสูตร พระสูตร

ถาดพระสุธารส

พระสุวรรณภิงคาร

พระภูษาชุบสรง

พระแสงปืน

รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง

พระทวาร

พระแท่นบรรทม

ซับพระองค์ 
ผ้าเช็ดหน้า

กระจกส่อง

ข้าว


น้ำกิน

ตุ้มหู

ช้อน

ช้อนส้อม

ปิ่น

ไม้เท้า

หมาก  

น้ำชา

เหล้า

กางเกง
ซับพระพักตร์

พระฉาย

พระกระยาเสวย( พระมหากษัตริย์ )

พระสุธารส

พระกุณฑลพาน

ฉลองพระหัตถ์

ฉลองพระหัตถ์ส้อม

พระจุฑามณี

ธารพระกร

พานพระศรี

พระสุธารสชา

น้ำจัณฑ์

พระสนับเพลา พระที่ (ราชวงศ์)

คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ผม -- พระเกศา
ไหปลาร้า -- พระรากขวัญ
หน้าผาก -- พระนลาฎ
ท้อง -- พระอุทร
หลัง -- พระขนอง
นิ้วมือ -- พระองคุลี
บ่า -- พระอังสะ
จุก -- พระโมฬี
นม -- พระถัน, พระเต้า
นิ้วชี้ -- พระดรรชนี
จมูก -- พระนาสิก
ฟัน -- พระทนต์
อก -- พระอุระ, พระทรวง
หู -- พระกรรณ
เอว -- บั้นพระองค์, พระกฤษฎี
ลิ้น -- พระชิวหา
ผิวหนัง -- พระฉวี
ข้อเท้า -- ข้อพระบาท
ปอด -- พระปับผาสะ
ปาก -- พระโอษฐ์
คาง -- พระหนุ
รักแร้ -- พระกัจฉะ
ดวงหน้า -- พระพักตร์
ผิวหน้า -- พระราศี 

ลิ้นไก่ -- มูลพระชิวหา
ไรฟัน -- ไรพระทนต์
ตะโพก -- พระโสณี
แข้ง -- พระชงฆ์
นิ้วก้อย -- พระกนิษฐา
คอ -- พระศอ
เนื้อ -- พระมังสา
เหงื่อ -- พระเสโท
ปัสสาวะ -- พระบังคนเบา
สะดือ -- พระนาภี
อุจจาระ -- พระบังคนหนัก
ขน -- พระโลมา
เถ้ากระดูก -- พระอังคาร
น้ำลาย -- พระเขฬะ
ข้อมือ -- ข้อพระหัตถ์
คิ้ว -- พระขนง
น้ำตา -- น้ำพระเนตร,
ต้นขา -- พระอุรุ พระอัสสุชล
หัวเข่า -- พระชานุ
ต้นแขน -- พระพาหุ
ขนระหว่างคิ้ว -- พระอุณาโลม
เงา -- พระฉายา
จอนหู -- พระกรรเจียก


คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
พ่อ
พระชนก พระบิดา 
แม่
พระชนนี,พระมารดา 
ปู่, ตา
พระอัยกาพระอัยกี 
ย่า, ยาย
พระอัยยิกา 
ลุง
พระปิตุลา 
ป้า
พระปิตุจฉา 
พี่ชาย
พระเชษฐา 
พี่สาว
พระเชษฐภคินี 
น้องชาย
พระอนุชา 
ลูกสะใภ้
พระสุณิสา 
พ่อผัว, พ่อตา
พระสัสสุระ 
พี่เขย, น้องเขย
พระเทวัน 
ผัว
พระสวามี 
ลูกเขย
พระชามาดา 
คําราชาศัพท์หมวดพระสงฆ์
 คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
สรงน้ำ
อาบน้ำ  
จังหัน
อาหาร 
คำสอน(พระสังฆราช)
พระโอวาท 
คำสั่ง(พระสังฆราช)
พระบัญชา 
จำวัด
นอน
ฉัน
รับประทาน
ธรรมาสน์(พระสังฆราช)
พระแท่น
จดหมาย(พระสังฆราช)
พระสมณสาสน์
นิมนต์
เชิญ
อาพาธ
ป่วย
ที่นั่ง
อาสนะ
จดหมาย
ลิขิต
ปัจจัย
เงิน
ปลงผม
โกนผม
เรือนที่พักในวัด
กุฏิ
ห้องอาบน้ำ
ห้องสรงน้ำ
ประเคน
ถวาย
เพล
เวลาฉันอาหารกลางวัน
ห้องสุขา
ถาน,เวจกุฎี
อาหาร
ภัตตาหาร
มรณภาพ
ตาย
ประเคน
ถวาย
คำแจ้งถวายจตุปัจจัย
ใบปวารณา
อาหารถวายพระด้วยสลาก
สลากภัต
อังคาด
เลี้ยงพระ
ลิขิต
จดหมาย
สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย
เสนาสนะ
เครื่องนุ่งห่ม
ไตรจีวร
ยารักษาโรค
คิลานเภสัช
คนรู้จัก
อุบาสก,อุบาสิกา
รูป
ลักษณนามสำหรัพระภิกษุ
องค์
ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป

การใช้คําราชาศัพท์ที่ควรสังเกตุ
การใช้คำว่า “พระ” “พระบรม” “พระราช”

พระ” ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่นพระชานุ พระนลาฏ พระขนง เป็นต้น
พระบรม”ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย เป็นต้น
พระราช” ใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เช่นพระราชประวัติ พระราชานุญาต พระราชวโรกาส เป็นต้น
การใช้คำว่า “ทรง” มีหลัก 3 ประการ คือ
นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงรถ ทรงดนตรี ทรงช้าง ทรงเครื่อง เป็นต้น
นำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่นทรงวิ่ง ทรงเจิม ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ เป็นต้น
นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงพระราชดำริ ทรงพระอักษร ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นต้นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ “ทรง” นำหน้า เช่นเสวย เสด็จ โปรด เป็นต้น
การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ 
ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ คำว่า”เฝ้าฯรับเสด็จ” ย่อมาจาก”เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ”ไม่ใช้คำว่า”ถวายการต้อนรับ”
คำว่า”คนไทยมีความจงรักภักดี” หรือ”แสดงความจงรักภักดี” ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า “ถวายความจงรักภักดี”
การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล
คำว่า “อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะ” และ”พระราชอาคันตุกะ” ใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า”ราช”นำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมี”ราช”นำหน้าในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ “ทูลเกล้าฯ ถวาย”ถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ “น้อมเกล้า ฯ ถวาย”


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

1 ความคิดเห็น

หน่วยการเรียนรู้ที่ เรื่องสำนวนสุภาษิตและคำพังเพย

สำนวนไทย คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนวน คือถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู้อย่างลึกซึ้ง แยบคาย เพื่อให้ผู้รับได้ไปตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้ สันนิษฐานว่า สำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข       
                                                                                                                                               
การแบ่งประเภท                                                                                                                                                         
1. การแบ่งตามมูลเหตุ                                                                                                                                          หมวดที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ ปลากระดี่ได้น้ำ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง ไก่แก่แม่ปลาช่อน  หมวดที่เกิดจากการกระทำ เช่น ไกลปืนเที่ยงสาวไส้ให้กากิน ชักใบให้เรือเสีย ปิดทองหลังพระ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง  หมวดที่เกิดจากสภาพแวดแวดล้อม เช่น ตีวัวกระทบคราด ใกล้เกลือกินด่าง ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก     หมวดที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ    หมวดที่เกิดจากระเบียบแบบแผนประเพณีความเชื่อ เช่น กงเกวียนกำเกวียน คู่แล้วไม่แคล้วน ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่      หมวดที่เกิดจากความประพฤติ เช่น หงิมหงิมหยิบชิ้นปลามัน ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา คบคนดูหน้าซื้อผ้าดูเนื้อ ขี้เกียจสันหลังยาว                       

2. มีเสียงสัมผัส                                                                                                                                               คำสัมผัส เช่น คอขาดบาดตาย มั่งมีศรีสุข ทำมาค้าขาย   6–7 คำสัมผัส เช่น ปากเป็นเอก เลขเป็นโท คดในข้องอในกระดูก แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร ขิงก็ราข่าก็แรง8–9 คำสัมผัส เช่น ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา

3. ไม่มีเสียงสัมผัส                                                                                                                                              คำเรียงกัน เช่น กัดฟัน ของร้อน ก่อหวอด
           1.หมวดที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ ปลากระดี่ได้น้ำ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง ไก่แก่แม่ปลาช่อน                                                                                                      
           2.หมวดที่เกิดจากการกระทำ เช่น ไกลปืนเที่ยงสาวไส้ให้กากิน ชักใบให้เรือเสีย ปิดทองหลังพระ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง 
           3.หมวดที่เกิดจากสภาพแวดแวดล้อม เช่น ตีวัวกระทบคราด ใกล้เกลือกินด่าง ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
           4.หมวดที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ 
           5.หมวดที่เกิดจากระเบียบแบบแผนประเพณีความเชื่อ เช่น กงเกวียนกำเกวียน คู่แล้วไม่แคล้วกัน ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ 
           6.หมวดที่เกิดจากความประพฤติ เช่น หงิมหงิมหยิบชิ้นปลามัน ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา คบคนดูหน้าซื้อผ้าดูเนื้อ ขี้เกียจสันหลังยาว                                                                                                                          3 คำเรียงกัน เช่น ไกลปืนเที่ยง ก้างขวางคอ ดาบสองคม พริกกับเกลือ                                                 4 คำเรียงกัน เช่น ใกล้เกลือกินด่าง ผักชีโรยหน้า เข้าด้ายเข้าเข็ม                                                       5 คำเรียงกัน เช่น ชักแม่น้ำทั้งห้า ลางเนื้อชอบลางยา ขว้างงูไม่พ้นคอ                                                  6–7 คำเรียงกัน เช่น ยกภูเขาออกจากอก วันพระไม่มีหนเดียว ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ                                              

คุณค่า                                                                                                                                                                 ภาษาพูดหรือภาษาเขียนของชนแต่ละชาติย่อมจะมีอยู่ด้วยกันสองอย่าง คือ พูดตรงไปตรงมาตามภาษาของตนเอง เป็นภาษาพูดที่ต่างคนต่างฟังเข้าใจกันได้ง่าย พูดเป็นชั้นเชิง มีการใช้โวหารและคำคล้องจองในการพูดและการเขียน ทั้งนี้ เพื่อให้ความหมายชัดเจนหรือขยายความออกไปให้กระจ่างขึ้น หรือเพื่อให้เกิดความไพเราะน่าฟัง เป็นภาษาที่เราเรียกว่า "โวหาร" "เล่นลิ้น" หรือ" พูดสำบัดสำนวน" สำนวนเหล่านั้นจะแสดงความหมายอยู่ในตัวประโยคนั้นเอง                                                         

          สุภาษิต หมายถึง ข้อความสั้นๆ กะทัดรัด แต่มีความหมายชัดเจนลึกซึ้ง มีคติสอนใจ หรือให้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวปฏิบัติ ซึ่งสามารถพิสูจน์ เชื่อถือได้ เช่น แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ 
         คำพังเพย มีลักษณะคล้ายสุภาษิตและเกือบเป็นสุภาษิต แต่ไม่ได้สอนใจหรือให้ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้โดยตรง เป็นคำกล่าวที่มีลักษณะติชม แสดงความเห็นอยู่ในตัว เช่น ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ 
       ถึงแม้จะสามารถแยกว่าคำไหนเป็น สำนวน สุภาษิต คำพังเพย แต่ในทางปฏิบัติจริงๆมีปัญหามาก เพราะข้อความหรือคำกล่าวเช่นนี้มีจำนวนมากมีลักษณะคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างสำนวน สุภาษิต คำพังเพย จนไม่อาจตัดสินเด็ดขาดว่าอยู่ไหนประเภทไหน เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก(เป็นสำนวน เพราะความหมายไม่ตรงตามอักษร เป็นคำพังเพย เพราะกล่าวติชมแสดงความเห็นเกี่ยวกับคนที่ฉวยโอกาส เป็นสุภาษิต เพราะให้คติสอนใจว่า เมื่อมีโอกาส จงรีบทำกิจการให้ได้รับผลสำเร็จ) น้ำลดต่อผุด (เป็นสำนวน เพาระ ความหมายไม่ตรงตามอักษร เป็นคำพังเพย เพราะ กล่าวติหรือเย้ยหยัน คนทำชั่วที่ความชั่วนั้นได้ปรากฏขึ้น เป็นสุภาษิต เพราะ สอนความจริงที่ว่า ความชั่ว ความผิดพลาดนั้น ไม่สามารถปิดบังได้ตลอดไป) เพราะเหตุนี้จะไม่เน้นความสามารถในการแยกประเภทแต่จะเน้นความหมาย เพื่อจะนำไปใช้ได้ถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ(วัฒนธรรมในการใช้ภาษา)
      
สำนวนสุภาษิตและคำพังเพย


สำนวนสุภาษิต ” กบเลือกนาย “ ความหมาย :  หมายถึง การช่างเลือก ช่างสรรหาเพื่อที่จะให้ได้ในสิ่งที่ตนหวังหรือมีความต้องการ เป็นคนเลือกมาก แต่ท้ายสุดกลับได้ของที่ไม่ต้องการหรือไม่มีค่าอะไรเลย สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : เลือกนักมักได้แร่


สำนวนสุภาษิต ” กระต่ายตื่นตูม ” ความหมาย สำนวนนี้หมายถึงอาการตื่นตกใจในเหตุการณ์ที่สรุปขึ้นเองอย่างไม่มีเหตุผล ตื่นตกใจโดยไม่คิดถึงเหตุผลว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ด่วนสรุปอะไรง่ายๆ สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : ตีตนไปก่อนไข้


สำนวนสุภาษิต ” กินน้ำใต้ศอก ” ความหมาย สำนวนนี้หมายถึง จำยอมตกเป็นรอง ไม่สามารถเทียบเทียมได้เท่า เช่นหญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย ก็เรียกว่า “กินน้ำใต้ศอกเขา” ที่มาของสำนวน คนในสมัยก่อนอธิบายว่า คนหนึ่งเอาสองมือรองน้ำมากิน มากิน อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : ไก่รองบ่อน


สำนวนสุภาษิต ” กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา ” ความหมาย สำนวนสุภาษิตนี้ หมายถึง ไม่รู้จักบุญคุณผู้อุปการะเลี้ยงดูหรือเนรคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ และนำความเดือดร้อนมาให้ผู้มีพระคุณ เปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อน สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน

         


สำนวนสุภาษิต ” กินเพื่ออยู่ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน ” ความหมาย สำนวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนเราควรกินแต่พออิ่ม ไม่กินทิ้งกินขว้าง หรือควรใช้จ่ายให้สมกับฐานะของตน สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : กินข้าวเย็นเป็นพระยา




สำนวนสุภาษิต ” กินจนพุงแตก “ ความหมาย สำนวนสุภาษิตนี้หมายถึง รับเงินสินบน ทำหน้าที่โดยทุจริตมามากจนเรื่องแดงออกมาเป็นที่รู้กันไปทั่ว ที่มาของสำนวน สำนวนนี้มีที่มาจากเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เมื่อตอนที่ชูชกโลภมากกินอาหารไม่หยุดจนกระทั่งพุงแตกตาย เปรียบเปรยได้กับพวกที่คิดคดทุจริตด้วยการรับสินบนมามากจนในที่สุดมีคนรู้เห็น ทำให้เรื่องแดงออกมาให้รู้โดยทั่วกัน




สำนวนสุภาษิต ” กำแพงมีหูประตูมีช่อง “  หรือ “กำแพงมีหู ประตูมีตา” ความหมาย สำนวนสุภาษิตนี้หมายถึง สิ่งใดที่เป็นความลับเวลาจะพูดออกไปจะต้องระมัดระวังให้มาก เพราะอาจมีผู้อื่นได้ยินแล้วนำเอาความลับนั้นไปเปิดเผย ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงว่าสิ่งรอบๆตัวเรา เช่น หลังกำแพง,หลังประตูหรือหน้าต่าง ยังมีคนที่อาจอยู่และได้ยินเวลาเราพูดเสมอ




สำนวนสุภาษิต ” กำขี้ดีกว่ากำตด “ ความหมาย สำนวนสุภาษิตนี้หมายถึง ลงทุนหรือลงแรงไปแล้ว แม้ไม่ได้ค่าตอบแทน แต่ได้อย่างอื่นมาก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยจาก การกำขี้นั้นยังเป็นสิ่งที่จับต้องได้ แต่ตดนั้นไม่สามารถที่จะจับต้องได้



สำนวนสุภาษิต “ ขวานผ่าซาก ” ความหมาย สำนวนนี้หมายถึง พูดตรงๆอย่างจริงใจ แต่มักพูดโดยไม่เลือกกาลเทศะและบุคคล ทำให้ไม่เป็นที่พอใจแก่ผู้อื่น ทีมาของสำนวน – ไม่ทราบแน่ชัด


สำนวนสุภาษิต  “ ขายผ้าเอาหน้ารอด ” ความหมาย สำนวนนี้หมายถึง ทำให้งานนั้นเสร็จพ้นๆไป แต่ไร้คุณภาพ เพียงเพราะอยากรักษาชื่อเสียงของตนไว้ หรือหมายถึง ยอมสละของจำเป็นที่มีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้หรือใช้เพื่อแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าให้เอาตัวรอดไปก่อน สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : ผักชีโรยหน้า



สำนวนสุภาษิต  “ ขิงก็รา ข่าก็แรง ” ความหมาย สำนวนนี้หมายถึงต่างฝ่ายต่างไม่ถูกกัน ไม่ยอมซึ่งกันและกัน เจอกันทีไรก็ทะเลาะกันอย่างรุนแรง สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : เกลือจิ้มเกลือ



สำนวนสุภาษิต  “ ขี่ช้างจับตั๊กแตน ” ความหมาย สำนวนนี้หมายถึงการลงทุนลงแรงหรือเวลาเป็นจำนวนมากจนเกินความจำเป็น เพื่อทำในสิ่ง ที่จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจำนวนน้อยนิด สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ


สำนวนสุภาษิต ” ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด ” ความหมาย สำนวนสุภาษิตนี้หมายถึงมีความรู้มากแต่ไม่สามารถนำความรู้มาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองได้ สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : ความรู้อยู่ในสมุด


สำนวนสุภาษิต ” จับเสือมือเปล่า ” ความหมาย สำนวนสุภาษิตนี้หมายถึงการทำประโยชน์ใดๆโดยไม่ต้องลงทุน โดยอาจใช้ความสามารถหรือทรัพยากรของคนอื่น เพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ สำนวนที่คล้ายคลึงกัน : เสือนอนกิน



สำนวนสุภาษิต “ จับแพะชนแกะ ” ความหมาย สำนวนสุภาษิตนี้ความหมายถึง ทำงานไม่ได้ตามแผนที่วางไว้ แต่เพื่อให้งานสำเร็จ ก็หาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาทดแทนไปก่อน เพื่อให้งานผ่านๆไป  เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนไม่มีความสมบูรณ์นัก สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : หัวมังกุท้ายมังกร


สำนวนสุภาษิต “ สีซอให้ควายฟัง” ความหมาย การพูดสอนให้ผู้ที่มีความรู้น้อยได้ฟัง แต่ผู้ฟังไม่ใส่ใจที่จะฟัง หรือฟังแต่ก็ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ ทำให้ผู้ที่สั่งสอนให้ความรู้นั้นเสียเวลาเปล่า


สำนวนสุภาษิต “ จับปูใส่กระด้ง” ความหมาย การที่คนๆหนึ่งพยายามดูแลเด็กเล็กๆ โดยพยายามให้อยู่นิ่งๆ หรือเป็นระเบียบ แต่เด็กก็ซุกซนไม่อยู่นิ่ง




สำนวนสุภาษิต “ ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ความหมาย เป็นคำกล่าวที่คมคาย กะทัดรัดงดงาม และฟังดูไพเราะจับใจ รวมเนื้อความของเรื่องยาว ๆ ให้สั้นลง เป็นคำกล่าวที่ใช้ถ้อยคำเพียงเล็กน้อย แต่กินความหมายลึกซึ้ง


สำนวนสุภาษิต “ กบในกะลาครอบ” ความหมาย ผู้ที่มีความรู้เพียงน้อยนิด ในมุมมองที่คับแคบของตัวเองแต่กลับอวดเบ่งว่าตัวเองนั่นรู้เรื่องทุกอย่าง ปิดกั้นสิ่งใหม่ๆที่เป็นความรู้รู้แค่ว่าสิ่งที่ตัวเองรู้นั้นคือที่สุดของที่สุดแต่หารู้ไม่ว่ายังมีเรื่องอีกมากมายที่ตนเองยังไม่รู้


สำนวนสุภาษิต “ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ ” ความหมาย  นิยมใช้กับคนสองคนที่รู้ทันกัน รู้ไส้รู้พุง รู้นิสัยใจคอ รู้ความลับซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงมักจะกินกันไม่ลงเพราะรู้ทันกันโดยตลอด



สำนวนสุภาษิต “มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ” ความหมาย  การที่บุคคลหนึ่งไม่ยอมช่วยงานส่วนรวม แต่ยังทำตัวเกะกะการดำเนินงานของส่วนรวมมีความลำบากมากขึ้นไปอีก



                                                                           
                                                       
          

 
บทเรียน © 2012 | Designed by Meingames and Bubble shooter